
"เอ็มอาร์เอสเอ" หรือ Methicilin Resistant Staphylococcus Aureus (MRSA) คือ เชื้อแบคทีเรียที่พัฒนาจนเกิดอาการต่อต้าน หรือที่เราเรียกว่าการดื้อยา โดยเฉพาะประเภทยาปฏิชีวนะ ดังนั้นเมื่อเกิดการติดโรคจากเชื้อประเภทนี้ จึงทำให้รักษาได้ยากกว่าการติดเชื้อจากแบคทีเรียประเภทอื่นๆ ในบางครั้ง
เราจึงเรียกเชื้อโรคประเภทนี้ว่า Super-bug MRSA
แม้ว่า MRSA อาจสามารถทำให้เกิดอาการติดเชื้อทางผิวหนัง ในระดับความรุนแรงเพียงปานกลาง
แต่มันก็ยังสามารถก่อให้เกิดระดับความรุนแรงที่สาหัสขึ้นในกลุ่มคนไข้บางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และในเด็กทารกแรกเกิด
ภาวะการติดเชื้อจาก MRSA จะพบได้มากในโรงพยาบาลและสถานพักฟื้นของผู้ป่วย เนื่องด้วยสถานที่เหล่านี้มักจะเป็นจุดที่เสี่ยงต่อการที่ร่างกายเปิดรับเชื้อ เช่น แผลผ่าตัด โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ
และผู้ป่วยที่กำลังพักรักษาตัว ซึ่งร่างกายมักจะมีภูมิต้านทานในระดับต่ำ จึงสามารถเกิดการติดเชื้อโรค
ได้ง่าย ทั้งจากการพบปะติดต่อกับผู้คน ด้วยเหตุนี้ การแพร่กระจายของเชื้อโรค MRSA จึงเป็นไปได้มากในสถานที่ดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อไม่มีการรักษาความสะอาดและสุขอนามัยที่ดี
อาการของการติดเชื้อจากโรค MRSA แตกต่างกันไปตามจุดที่พบการติดเชื้อบนร่างกาย ซึ่งในบางกรณี อาจรุนแรงถึงขั้นเกิดภาวะเสี่ยงชีวิตได้
Causes
เชื้อ MRSA สามารถแพร่กระจายโดยผ่านทางการสัมผัสทางผิวหนังกับผู้ป่วยซึ่งติดเชื้อ MRSA
หรือแม้กระทั่งการสัมผัสกับผู้ที่มีเชื้อแบคทีเรียแฝงอยู่โดยไม่แสดงอาการ
เชื้อ MRSA ยังสามารถอยู่รอดได้เป็นระยะเวลานาน จุดที่สามารถพบเชื้อ MRSA ได้ ตัวอย่างเช่น
วัสดุตกแต่งแผล ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูเตียง หรือเสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ดังนั้นมันจึงยิ่งเพิ่มสรรถภาพ
การแพร่กระจายให้กับเชื้อ MRSA
Symptoms
อาการติดเชื้อ MRSA ทางผิวหนัง
- มีหนอง
- ฝี
- ผื่นคัน
- มีไข้สูง
- รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว
ผิวหนังอักเสบจากเชื้อ MRSA
- บวมแดง
- มีอาการแสบร้อนที่ผิวหนัง
การติดเชื้อ MRSA แบบรุนแรงและแพร่กระจาย
- มีการติดเชื้อในกระแสเลือ Sepsis
- มีการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- มีไข้ขึ้นสูงกว่า 38°C
- ปอดบวม
- เยื่อบุหัวใจอักเสบติดเชื้อ
- มีการอักเสบของกระดูก และไขกระดูก
- ข้ออักเสบติดเชื้อ
Prevention Tips
ฝึกให้มีสุขนิสัยที่ดี
- วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดคือการฝึกให้มีสุขนิสัยที่ดีอยู่เสมอ
- ล้างมือด้วยสบู่ให้สะอาดอยู่เสมอและเช็ดมือให้แห้งด้วยกระดาษเช็ดมือทุกครั้งหลังการเข้าห้องน้ำ
รวมไปถึงก่อนและหลังการรับประทานอาหาร - เมื่อไปเยี่ยมคนชรา ณ สถานรับเลี้ยงคนชรา หรือไปเยี่ยมผู้ป่วย ณ โรงพยาบาล คุณต้องล้างมือ
ให้สะอาดและใช้เจลล้างมืออนามัยก่อนไปอยู่บริเวณข้างเตียงของผู้ที่คุณไปเยี่ยม ล้างมือให้สะอาดอีกครั้งหลังเสร็จกิจเยี่ยมและควรหลีกเลี่ยงการนั่งบนเตียงของผู้ที่คุณไปเยี่ยมเพื่อป้องกันการแพร่กระจาย
ของเชื้อ MRSA มายังเสื้อผ้าที่คุณสวมใส่
การทำความสะอาดผ้าอย่างถูกสุขลักษณะ
- หากต้องดูแลผู้ป่วยที่มีเชื้อ MRSA คุณต้องทำความสะอาดผ้าเช็ดตัว เครื่องนอน และเสื้อผ้า
ด้วยน้ำร้อนอุณหภูมิสูงสุด (สูงกว่า 60 องศาเซลเซียส) และอาจเติมน้ำยาฆ่าเชื้อโรค ลงในถังซัก
เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อโรค
การดูแลบาดแผล
- เพื่อป้องกันการติดเชื้อในกระแสโลหิต ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้ทำการปฐมพยาบาลบาดแผล
และรอยถลอกด้วยการทำความสะอาดและปิดด้วยผ้าปิดแผลชนิดกันน้ำ
Frequently Asked Questions
เชื้อ MRSA ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ
ประเด็นนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องกังวล การรักษาอาการติดเชื้อ MRSA
สามารถทำได้โดยใช้ยาที่ยังสามารถรักษาอย่างได้ผล ทั้งนี้ ยาที่ใช้
ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของเชื้อ MRSA ที่ได้รับ ข้อเท็จจริงคือรายชื่อยาที่สามารถใช้รักษาอาการติดเชื้อ MRSA นั้นมีอยู่จำกัด
เชื้อ MRSA มีอันตรายถึงชีวิต
แม้ว่าการติดเชื้อ MRSA จะมีอันตรายถึงชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อ MRSA ในกระแสโลหิต อย่างไรก็ดี ผู้มีสุขภาพดีก็อาจเป็นพาหะที่สามารถแพร่เชื้อไปยังผู้อื่นได้ ด้วยเหตุนี้ การทำความสะอาดมือ
และพื้นผิวที่มีการสัมผัสและใช้งานให้สะอาดอยู่เสมอจึงมีความจำเป็น
อย่างยิ่ง โดยเฉพาะเมื่อต้องเกี่ยวข้องหรือสัมผัสกับผู้มีความเสี่ยง