ข้ามไปยังเนื้อหา
noneคนกินด้วยมือ

ความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัย

ความปลอดภัยของอาหารและสุขอนามัย

คนจำนวนมากเข้าใจว่าอาการอาหารเป็นพิษหรืออาการเจ็บป่วยเกิดจากเชื้อโรคที่รับมาเมื่อออกไปนอกที่พักอาศัยแต่ในความเป็นจริงแล้ว อาการอาหารเป็นพิษนั้นโดยมากเกิดขึ้นในที่พักอาศัยในห้องครัวที่อุดมไปด้วยเชื้อโรคและจากเชื้อโรคในอาหารดิบ (รวมถึงเนื้อสัตว์ ไก่ ไข่ ผัก และผลไม้) ที่แพร่กระจายไปยังพื้นผิวต่างๆ ในห้องครัวในขณะเตรียมอาหารหรือในอาหารที่ปรุงไม่สุก

หลีกให้ห่างจากอาการอาหารเป็นพิษในที่พักอาศัยโดยการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ 4 ข้อ คือ ระวังการแพร่เชื้อ, รักษาความสะอาด, ปรุงอาหารให้สุกและเก็บรักษาอาหารโดยการแช่เย็น

หลักเกณฑ์สุขอนามัยในอาหาร 4 ข้อ

ระมัดระวังการแพร่เชื้อ

หนึ่งในสาเหตุที่สำคัญของอาการอาหารเป็นพิษคือการที่เชื้อโรคแพร่กระจายจากอาหารชนิดหนึ่งไปยังอีกชนิดหนึ่ง โดยมากมักเกิดจากการสัมผัสโดยมือของมนุษย์หรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการประกออาหาร อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงด้านสุขภาพดังกล่าวสามารถป้องกันได้ ดังนี้

  • ล้างมือด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนสัมผัสกับอาหารและหลังจากการสัมผัสกับอาหารดิบ (เช่น เนื้อสัตว์ ไข่) ถังขยะ สัตว์เลี้ยง หรือหลังจากการเข้าห้องน้ำ
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิวทั้งหมดภายหลังการเตรียมอาหาร
  • แยกเขียงอาหารดิบและอาหารปรุงสุกพร้อมรับประทาน โดยอาจใช้เขียงคนละสี
  • ปิดฝาภาชนะบรรจุอาหารทุกครั้งจนกว่าจะรับประทานเพื่อป้องกันเชื้อโรคสัมผัสกับอาหาร
  • เก็บและจัดเตรียมอาหารดิบแยกจากอาหารที่ปรุงสุกแล้ว
  • ห้ามมิให้สัตว์เลี้ยงหรือสัตว์อื่นใดเข้าใกล้ส่วนจัดเตรียมและรับประทานอาหาร

รักษาความสะอาด

  • ฆ่าเชื้อโรคด้วยวิธีการที่ถูกต้องในเวลาที่เหมาะสมเพื่อกำจัดเชื้อโรคที่เป็นอันตรายและหยุดการแพร่กระจายของเชื้อโรคลงสู่อาหารที่จะรับประทาน
  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเครื่องครัวทุกชิ้นอยู่ในสภาพที่สะอาดก่อนการใช้งาน
  • ทำความสะอาดและฆ่าเชื้อวัสดุ สิ่งของ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีการสัมผัสจับต้องอยู่เสมอ เช่น ก๊อกน้ำ มือจับลิ้นชักหรือฝาตู้ สวิตช์ไฟ ฯลฯ
  • ทำความสะอาดพื้นผิวของส่วนจัดเตรียมอาหาร
  • ใช้กระดาษชำระหรือผ้าสำหรับทำความสะอาดแบบใช้แล้วทิ้งทุกครั้งหากทำได้ หากใช้ผ้าปกติต้องฆ่าเชื้อโรคทุกครั้งหลังการใช้งาน (และอย่าใช้ผ้าผืนเดิมทำความสะอาดจุดอื่นของที่พักอาศัย)

ปรุงอาหารให้สุก

ปรุงเนื้อให้สุกเพื่อฆ่าเชื้อโรคที่อาจเป็นอันตรายและอาจเป็นสาเหตุของอาการอาหารเป็นพิษ การตรวจสอบว่าเนื้อสุกหรือไม่นั้นสามารถทำได้โดยใช้มีดแทงลงไปบริเวณที่หนาที่สุดของชิ้นเนื้อ น้ำที่ซึมออกมาจะต้องมีลักษณะใสไม่เป็นสีชมพู และในการอุ่นอาหาร อุ่นให้อาหารร้อนระอุทั่วทุกครั้งและไม่อุ่นอาหารซ้ำเกินกว่าหนึ่งครั้ง

เก็บรักษาอาหารโดยการแช่เย็น

เก็บรักษาไว้ในตู้เย็น (0-5 องศาเซลเซียส, 32-41 องศาฟาเรนไฮต์) หรือในช่องแช่แข็งเพื่อชะลอการเจริญเติบโตของแบคทีเรียอันตราย ศึกษาคำแนะนำในการจัดเก็บอาหารบนบรรจุภัณฑ์ทุกครั้งและไม่รับประทานอาหารที่หมดอายุ ในกรณีของอาหารที่เหลือจากการรั ประทาน คลุมอาหารด้วยพลาสติกสำหรับคลุมอาหารหรือปิดฝาภาชนะให้สนิทและเก็บอาหารในตู้เย็นหรือช่องแช่แข็งภายในสองชั่วโมงหลังจากประกอบอาหารเสร็จ แบ่งอาหารใส่ภาชนะเล็กๆเพื่อให้อาหารเย็นเร็วขึ้น

ความเชี่ยวชาญ ของเรา