ข้ามไปยังเนื้อหา
noneอะไรคือโรคเมอร์ส

อะไรคือโรคเมอร์ส?

เมอร์สคืออะไรและมีลักษณะการแพร่กระจายอย่างไร?

โรคเมอร์ส หรือ MERS (Middle East respiratory syndrome) คือโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจจากไวรัส โดยมีสาเหตุมาจากโคโรน่าไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ถูกพบครั้งแรกที่ประเทศซาอุดิอาระเบียในปี 2012 โดยที่จะพบการติดเชื้อที่ปอดและหลอดลม

อะไรคืออาการของโรคเมอร์ส?

          อาการที่สามารถพบได้โดยทั่วไปได้แก่ มีไข้, ไอ และหายใจลำบาก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร รวมถึงท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น อาการปอดบวมและไตวาย อัตราการเสียชีวิต 3-4 รายในผู้ป่วย 10 ราย โดยโคโรน่าไวรัส จะทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงมากขึ้น ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำเช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง และผู้ป่วยเบาหวาน

อะไรคืออาการของโรคเมอร์ส?

          อาการที่สามารถพบได้โดยทั่วไปได้แก่ มีไข้, ไอ และหายใจลำบาก ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการทางระบบทางเดินอาหาร รวมถึงท้องเสีย คลื่นไส้ และอาเจียน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการแทรกซ้อนตามมา เช่น อาการปอดบวมและไตวาย อัตราการเสียชีวิต 3-4 รายในผู้ป่วย 10 ราย โดยโคโรน่าไวรัส จะทำให้อาการของผู้ป่วยรุนแรงมากขึ้น ในผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำเช่น ผู้ป่วยมะเร็ง ผู้ป่วยโรคปอดเรื้อรัง และผู้ป่วยเบาหวาน

 การพัฒนาของโรคจะใช้เวลานานเท่าไร?

          ระยะฟักตัวของโรคเมอร์ส (ช่วงเวลาหลังได้รับเชื้อจนแสดงอาการ) โดยทั่วไปจะอยู่ที่ 5-6 วัน แต่อาจสามารถอยู่ในช่วง 2-14 วันก็ได้

 โรคเมอร์ส เกิดมาจากที่ไหน

          มีรายงานว่าโรคเมอร์สนั้นพบได้ทั่วโลก แต่พบในแถบคาบสมุทรอาหรับเป็นหลัก โดยเฉพาะประเทศซาอุดิอาระเบีย ส่วนรายงานที่โรคเมอร์สพบที่บริเวณอื่นนั่น เชื่อว่าน่าจะเป็นการได้รับเชื้อจากแถบตะวันออกกลางและเดินทางออกนอกประเทศเหล่านี้ จนไปแสดงอาการที่อื่นๆ

 ไวรัสเมอร์ส เกิดมาจากอะไร

          โคโรน่าไวรัส สามารถพบได้ในสัตว์ และติดต่อมายังมนุษย์ ต้นกำเนิดของไวรัสนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่นอน แต่เชื่อกันว่ามาจากค้างคาว และต่อมาจึงติดต่อมายังอูฐ

 ไวรัสโคโรน่าติดต่อได้อย่างไร

          ปัจจุบันยังไม่ทราบว่าไวรัสโคโรน่าเข้าสู่คนได้อย่างไร แต่สัตว์ประเภทอูฐ ดูเหมือนว่าจะเป็นสาเหตุหลักของเชื้อไวรัสและเป็นต้นเหตุของการติดเชื้อในมนุษย์

          การติดต่อจากคนสู่คนนั้นไม่ง่ายนัก เว้นเสียแต่มีการใกล้ชิดกันมากๆ เช่นคนในครอบครัวที่อยู่ร่วมกัน ผู้ป่วยหรือบุคคลากรทางการแพทย์ที่ไม่ได้ป้องกันการสัมผัสเชื้อ

 มีการรักษาโรคเมอร์สหรือไม่

           ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ในการรักษาโดยเฉพาะ ทำได้เพียงบรรเทาอาการเท่านั้น

ใครเป็นผู้มีปัจจัยเสี่ยง

  • นักเดินทางที่เพิ่งกลับมาจากแถบคาบสมุทรอาหรับ
  • ผู้ใกล้ชิดนักเดินทางที่กลับมาจากแถบคาบสมุทรอาหรับ
  • ผู้ที่ใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อเมอร์ส
  • บุคคลากรทางการแพทย์ที่ไม่มีการป้องกันการติดเชื้ออย่างเหมาะสม
  • ผู้ที่สัมผัสกับอูฐ

อะไรเป็นอาการที่แสดงว่ามีการดำเนินของโรคแล้ว

            ถ้าคุณตกอยู่ในความเสี่ยงข้างต้น และมีอาการไข้ มีอาการทางระบบทางเดินหายใจ เช่น ไอ หรือหายใจลำบาก คุณควรจะติดต่อบุคคลากรทางการแพทย์ โดยในขณะที่ติดเชื้อ ควรจำกัดการเดินทาง เช่น ทำงานหรือเรียนอยู่กับบ้าน หรือเลื่อนแผนการเดินทางต่างๆ ออกไป เพื่อลดโอการการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

 เราจะป้องกันตัวเองจากเมอร์สได้อย่างไร

            ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อทางเดินหายใจชนิดใด สามารถป้องกันตัวเองได้โดย

  • ล้างมือด้วยสบู่นาน 20 วินาที และล้างด้วยน้ำสะอาด หรือใช้ผลิตภัณฑ์ชนิด แอลกอฮอล์ เจลแทนหากไม่มีสบู่หรือน้ำ
  •  ปิดจมูกและปากโดยใช้กระดาษทิชชู่เมื่อไอหรือจาม และทิ้งกระดาษใช้แล้วลงถังขยะ
  • หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสดวงตา จมูก และปาก โดยเฉพาะเมื่อยังไม่ได้ล้างมือ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น การจูบ การใช้ช้อนร่วมกัน เป็นต้น
  • ทำความสะอาดผื้นผิวที่สัมผัสบ่อยๆ เช่น ลูกบิดประตู ราวบันได และของเล่น เป็นต้น

ความเชี่ยวชาญ ของเรา