ข้ามไปยังเนื้อหา
noneการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ

การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะคืออะไรและมีลักษณะการแพร่กระจายอย่างไร?

การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ (UTI) เป็นอาการที่พบได้ทั่วไปและมักเกิดขึ้นกับเพศหญิงมากกว่า
เพศชาย ผู้ที่มีอาการจะรู้สึกเจ็บหรือแสบขณะปัสสาวะแต่อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน 
และในบางรายอาจรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ

เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวับการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ สาเหตุการเกิดและวิธีการป้องกัน

Causes

"ระบบทางเดินปัสสาวะ" คือคำที่ใช้เรียกระบบของร่างกายที่ใช้ขับถ่ายปัสสาวะ ระบบดังกล่าวรวมถึงไต ท่อไต 
กระเพาะปัสสาวะ และท่อปัสสาวะ

การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ (UTI) คือการติดเชื้อบริเวณอวัยวะต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น โดยเฉพาะแบคทีเรียที่เข้าสู่ท่อไต ในผู้ป่วยบางรายที่พบน้อยมาก การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะอาจเกิดจากแบคทีเรียในกระแสโลหิต ทั้งนี้เราเรียกอาการที่เกิดจากการติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะว่ากระเพาะปัสสาวะอักเสบและอาการที่เกิดจากการติดเชื้อในท่อปัสสาวะว่าท่อปัสสาวะอักเสบ

การติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะไม่ใช้โรคติดต่อทางเพศแต่ผู้หญิงบางคนพบว่าอาการระคายเคืองจากการมีเพศสัมพันธ์เป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ ในเพศชาย การติดเชื้อดังกล่าวอาจเกิดจากการที่ท่อปัสสาวะหดตัว ประวัติการติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศในอดีต 
โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือปัญหาที่เกิดจากต่อมลูกหมาก

Symptoms

ผู้ป่วยจากการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ อาจมีอาการต่อไปนี้

  • ปวดหรือแสบขณะปัสสาวะ
  • ต้องการปัสสาวะแบบปัจจุบันทันด่วน (กลั้นปัสสาวะไม่อยู่)
  • ปวดหลังหรือท้อง
  • ปัสสาวะขุ่นหรือมีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
  • ไม่สบายตัว

อาการเหล่านี้เป็นอาการปกติที่พบทั่วไปและจะค่อยๆ ทุเลาจนหายเป็นปกติภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ดี 
ในกรณีของผู้ที่ตั้งครรภ์ มีอาการของโรคเบาหวาน มีไข้สูง หรืออาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว 
ควรรีบปรึกษาแพทย์ 

Prevention Tips

การรักษาการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ (UTI) มักใช้ยาปฏิชีวนะ ทั้งนี้ทั้งนั้น อาการดังกล่าวเป็นอาการที่สามารถป้องกันได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้

ดูแลสุขอนามัยส่วนตัวให้ดี อาบน้ำเป็นประจำทุกวัน ล้างทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นและในการทำความสะอาดจุดซ่อนเร้นหลังการเข้าห้องน้ำ ต้องเช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปทางด้านหลังทุกครั้งเพราะการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะโดยมากมักเกิดจากแบคทีเรียบริเวณทวารหนักที่มาสัมผัสกับท่อปัสสาวะ

  • ห้ามกลั้นปัสสาวะ เข้าห้องน้ำทันทีที่จำเป็น
  • สวนล้างกระเพาะปัสสาวะหลังการมีเพศสัมพันธ์ วิธีการนี้จะช่วยขจัดแบคทีเรียรอบๆ ท่อปัสสาวะ
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่เสี่ยงต่ออาการท้องผูกโดยการรับประทานอาหารที่มีไฟเบอร์สูงและดื่มน้ำตลอดทั้งวัน
  • ดื่มน้ำแครนเบอร์รี่เพราะคุณประโยชน์จากแครนเบอร์รี่ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปน้ำหรือเม็ด จะช่วยเพิ่มความสามารถของร่างกายในการป้องกันการติดเชื้อบริเวณทางเดินปัสสาวะ (UTI)

ความเชี่ยวชาญ ของเรา