ข้ามไปยังเนื้อหา
noneอีโบลา

อีโบลา

อีโบลาคืออะไรและมีลักษณะการแพร่กระจายอย่างไร?

ไวรัสอีโบลาเป็นต้นเหตุของโรคในกลุ่มอาการไข้เลือดออก เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถแพร่กระจายได้ทั้งในคนและสัตว์ เช่น ลิงชิมแปนซี

คุณสามารถอ่านข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุและอาการของโรคจากเชื้อไวรัสอีโบลา รวมไปถึงวิธีการป้องกัน
การแพร่กระจายของเชื้อไวรัสอีโบลาได้ข้างล่างนี้

ข้อมูลทั้งหมดรวบรวมมาจาก World Health Organization และ Centers for Disease Control and Prevention (CDC)

โรคอีโบลาเกิดมาจากการติดเชื่อไวรัสอีโบลา ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 สายพันธุ์ที่ทำให้เกิดอันตราย
ต่อสุขภาพของมนุษย์ ทุกสายพันธุ์ต่างมีต้นกำเนิดในทวีปแอฟริกา

ลักษณะการติดต่อของเชื้อไวรัสอีโบลา มีดังนี้

  1. การสัมผัสโดยตรงกับสัตว์ที่ติดเชื้อ ไม่ว่าทางเลือด สารคัดหลั่ง หรือผ่านทางการรับประทานเนื้อสัตว์ป่าที่ไม่ผ่านการปรุงสุก
  2. การสัมผัสโดยตรงกับเลือด ของเหลว สารคัดหลั่ง (อุจจาระ ปัสสาวะ อาเจียน น้ำลาย หรือน้ำเชื้อ) 
    ของผู้ป่วยด้วยโรคอีโบลา ผู้ที่ได้รับเชื้อจะยังไม่สามารถแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่นได้หากยังไม่แสดงอาการ
  3. การสัมผัสโดยตรงกับอวัยวะหรือร่างกายของผู้ที่เสียชีวิตจากโรคอีโบลา

การติดเชื้อไวรัสอีโบลาจะเกิดขึ้นผ่านทางผิวหนังเปิดหรือผ่านเยื่อบุผิวตรงดวงตา จมูก หรือปาก 
แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ถ้าหากมีการสัมผัสกับเชื้อไวรัสอีโบลาในลักษณะที่กล่าวมา
หรืออยู่ในสถานที่ที่มีการแพร่กระจายของเชื้อโรคจากผู้ป่วยด้วยโรคอีโบลา ไม่ว่าจะเป็น เสื้อผ้า ผ้าปูเตียง
หรือเข็มฉีดยา ก็สามารถเกิดการติดเชื้อได้

โรคไวรัสอีโบลาไม่แพร่กระจายในอากาศหรือทางน้ำ

อาการของโรคไวรัสอีโบลาสามารถแสดงอาการได้ในระยะเวลา 2 ถึง 21 วัน หลังการสัมผัสกับเชื้อ
ไวรัสอีโบลา โดยทั่วไปมักจะพบผู้ป่วยแสดงอาการภายใน 8-10 วัน

อาการมีดังนี้

  • มีไข้สูง
  • ปวดศีรษะอย่างรุนแรง
  • เหนื่อยล้า
  • ปวดข้อและปวดกล้ามเนื้อ
  • เจ็บคอ
  • อ่อนแอ
  • ท้องเสีย
  • อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ไม่อยากอาหาร
  • มีเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีรอยช้ำ

 อาการเบื้องต้นของโรคไวรัสอีโบลาจะแสดงอาการใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดใหญ่ (มีไข้ขึ้นสูง ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า เจ็บคอ) ดังนั้นผู้ป่วยจึงมักสับสนอาการป่วยด้วยโรคไข้หวัดใหญ่และโรคอีโบลา 
ทั้งนี้ โรคไข้หวัดใหญ่มักจะมีอการน้ำมูกไหล ไอ จาม ร่วมด้วย แต่อาการของโรคอีโบลามักจะรวมถึงอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย และอาการเลือดไหลโดยไม่ทราบสาเหตุหรือมีรอยช้ำ

คุณสามารถติดต่อกับหน่วยงานสาธารณสุขหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านสุขภาพเพื่อให้คำแนะนำเพิ่มเติมได้

เคล็ดลับการป้องกันโรคอีโบลา

ถ้าคุณต้องเดินทางไปในพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสอีโบลา คุณสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ดังนี้

  • ล้างมือบ่อยๆด้วยสบู่และน้ำ
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับของเหลวหรือเลือดของคนอื่นๆ โดยเฉพาะผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสิ่งของที่อาจติดเชื่อจากของเหลวหรือเลือดของผู้ป่วย
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างการของผู้เสียชีวิตจากโรคอีโบลา
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ หรือของเหลวจากสัตว์ เช่น ค้างคาว และหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ดิบๆ
  • หลีกเลี่ยงการไปโรงพยาบาลที่มีผู้ป่วยด้วยโรคอีโบลา ยกเว้นคุณสงสัยว่าตัวเองอาจได้รับเชื้อ
  • หากคุณมีอาการเป็นไข้หรือสัญญาณของโรคอีโบลาอื่นๆ (ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ ท้องเสีย อาเจียน ปวดท้อง หรือมีอาการเลือดออกโดยไม่ทราบสาเหตุหรือมีรอยช้ำ) คุณต้องพบแพทย์โดยเร็วที่สุด
  • หลีกเลี่ยงการติดต่อกับบุคคลอื่นจนกว่าคุณจะได้รับการดูแลโดยแพทย์ หลีกเลี่ยงการไปยังสถานที่สธารณะยกเว้นสถานพยาบาล

หากคุณอาศัยอยู่ในสถานที่ที่ยังไม่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสอีโบลา คุณสามารถปกป้องรักษาสุขภาพร่างกายของตนเองและครอบครัว รวมไปถึงสังคมรอบข้าง ได้ด้วยการไปพบแพทย์หรือสถานพยาบาลโดยทันทีถ้าหากคุณมีอาการที่แสดงถึงสัญญาณของโรคไวรัสอีโบลา

ความเชี่ยวชาญ ของเรา